เครียดลงกระเพาะ

เครียดลงกระเพาะ ปัญหาเครียด ๆ ของคนวัยทำงาน

สำหรับคนวัยทำงาน จะอยู่ในวัยที่ค่อนข้างสะสมความเครียด เพราะว่าจะต้องใช้การคิด วิเคราะห์ รวมทั้งการใช้ร่างกาย ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมานั้น อาจจะส่งให้สะสมกลายเป็นโรคได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น โรคออฟฟิศซินโดรมที่มีอาการปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ อีกหนึ่งโรคที่จะมาเยี่ยมเยียนหนุ่มสาววัยทำงานอีกอย่างนั่นก็คือ โรค เครียดลงกระเพาะ อาหาร ซึ่งแน่นอนเลยว่าค่อนข้างที่จะส่งผลกระทบอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งจุดกำเนิดของเรื่องนี้ก็คือ ความเครียดสะสมจากการทำงาน การใช้ชีวิต ความกดดันจากการทำงาน ซึ่งฮอร์โมนต่าง ๆ จะเกิดความแปรปรวน ระบบทุกส่วนในร่างกายจึงผิดปกติไปหมด ดังนั้นแล้วปัญหาเรื่องความเครียดจำเป็นมากที่จะต้องมองหาทางออก เพื่อไม่ให้ตัวเองนั้นป่วย สำหรับวันนี้พวกเราจึงได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุ อาการ และ วิธีการรักษาโรคนี้ สำหรับรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันได้ในบทความนี้


เครียดลงกระเพาะ เกิดจากอะไร

เครียดลงกระเพาะ

ปัจจุบันนี้ความเครียดจะดูเหมือนเป็นเรื่องปกติสำหรับทุกคนไปแล้ว ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ การเจ็บป่วย มีเรื่องให้ต้องกังวลกับคิดมากมายอยู่เสมอ แน่นอนเลยว่าในหมู่คนวัยทำงาน ยิ่งอยู่ในตำแหน่งที่สูง หรือ มีหน้าที่รับผิดชอบที่มากขึ้น ย่อมมีเรื่องให้คิดมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นแล้วจะมีปัญหาเรื่องความเครียดสะสมไปอย่างไม่รู้ตัว เพราะจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ป่วยนั่นเอง 


เกิดจากความเครียด

เหตุผลเดียวเลยที่ทำให้ เกิดโรคเครียดลงกระเพาะ นั่นก็คือ “ความเครียด” นั่นเอง เพราะว่าความเครียดที่สะสม จะส่งผลให้ร่างกายทำงานไม่ปกติ ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดความแปรปรวน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก แล้วยังส่งผลกระทบไปถึงกระเพาะอาหารที่จะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ ที่สำคัญจะทำให้ระบบการทำงานของระบบย่อยอาหารภายในร่างกายแย่ลงด้วยเช่นกัน ที่สำคัญจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ภายในร่างกายเป็นลูกโซ่ต่อมานั่นเอง นอกจากนี้ความเครียดยังสามารถส่งผลต่ออาการนอนไม่หลับได้อีกด้วย ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ก็อาจทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและมีผลต่อการต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ ในร่างกายได้นั่นเอง

ผลจากความเครียด จึงทำให้เกิดโรคเครียดลงกระเพาะ ความร้ายแรงของโรคนี้อาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่แท้จริงแล้ว จะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างหนักเลยทีเดียว โดยมีการส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดดังต่อไปนี้

1.จะเกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย เพราะว่าหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง ในบางรายอาจจะหลั่งกรดเกิดความจำเป็น 

2.จะได้รับแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ไม่ดี

3.จะเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อระบบทางเดินอาหารได้ง่าย เพราะว่าระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง ทำงานน้อยลง

4.ในส่วนของความเครียด จะส่งผลโดยตรงต่อลำไส้ใหญ่ จะตอบสนองด้วยการเกิดอาการท้องผูก และ ท้องเสีย 

5.โรคร้ายแรงอย่าง ลำไส้อักเสบ หรือ ลำไส้แปรปรวน อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยสาเหตุของความเครียด จนเกิดโรคเครียดลงกระเพาะ นั่นเอง


ความเครียดกระเพาะส่งผลต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร ? 

เครียดลงกระเพาะ

“ความเครียด” จะส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารเป็นอย่างมาก จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพต่ำลง เสี่ยงให้ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งจะมีแบคทีเรียบางชนิดที่ไม่ดี ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี กล้ามเนื้อหลอดอาหารหดเกร็ง อีกทั้งยังมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้การหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยอาหารน้อยลง ทำให้มีภาวะอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้น หรือ อาการท้องอืดได้นั่นเอง เรียกได้ว่าส่งผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับฮอร์โมน จะเห็นได้ว่าความเครียดส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีอาการที่ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเจ็บปวด เป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก


เครียดลงกระเพาะ อาการเป็นอย่างไร

โรคเครียดลงกระเพาะ จะส่งผลโดยตรงต่อระบบย่อยอาหาร ลำไส้ หรือ ท้องของเรานั่นเอง โดยมีอาการของโรคเครียดลงกระเพาะดังต่อไปนี้ 

  • มีอาการปวด จุก แน่น แสบบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งจะเกิดหลังจากการรับประทานอาหาร 
  • มีอาการรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน  พบอาการเรอร่วมด้วย
  • พบอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้องมาก ตดบ่อย
  • การขับถ่ายออกมาเป็นเลือด หรือ มีสีดำ

ความผิดปกติในการขับถ่าย หรือ การเจ็บปวดในกระเพาะอาหารเช่นนี้ จะเกิดจากโรคเครียดลงกระเพาะทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนอาหารที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ ย่อมส่งผลให้กลายเป็นแผลในกระเพาะ รวมทั้ง โรคกระเพาะอาหาร ที่จะมาเยี่ยมเยือนในอีกไม่กี่วัน 


อาการข้างเคียง กับ โรคเครียดลงกระเพาะ

หลังจากได้รู้จักอาการต่าง ๆ ของโรคนี้ไปแล้ว  จะขอพูดถึงอาการข้างเคียงที่อาจจะทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารได้ นั่นก็คือ โรคกระเพาะ ,แผลในกระเพาะอาหาร,ริดสีดวงทวาร,ลำไส้อักเสบ,มะเร็งลำไส้,มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้จะส่งผลร้ายต่อร่างกายในระยะยาว และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ที่สำคัญ อาการเจ็บป่วยเหล่านี้ค่อนข้างที่จะยากต่อการรักษา เพราะเกิดขึ้นภายใน จะต้องใช้การรักษาที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและมีราคาค่ารักษาที่ค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว ดังนั้น พฤติกรรมที่เป็นอยู่อาจต้องปรับปรุงใหม่ โดยการลดความเครียดและหันมาดูแลสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับร่างกายมากยิ่งขึ้น


วิธีรักษา โรคเครียดลงกระเพาะ

เครียดลงกระเพาะ

ค่อนข้างร้ายแรงเลยทีเดียว สำหรับอาการข้างเคียงของโรคเครียดลงกระเพาะ เพราะว่า “ความเครียด” จะส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ซึ่งความผิดปกตินี้ก็จะส่งผลให้เกิดความเครียดซ้ำ วิธีการรักษาอาจจะต้องเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ ความคิดในการทำงาน ต้องปล่อยวาง ลดความเครียด หันมาใส่ใจสุขภาพร่างกายมากขึ้น ซึ่งจะมีวิธีการรักษา โรคเครียดลงกระเพาะดังต่อไปนี้

1.ลดความเครียด

ประเด็นแรกที่จะต้องทำให้ได้นั่นก็คือ “ลดความเครียด” เพราะว่าภาวะเครียดคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรื่องแย่ ๆ เข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต โรคภัยไข้เจ็บ การวิตกกังวล ซึ่งอาจจะนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน วิธีแก้ก็คือ หากิจกรรมที่ทำให้ตนเองผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง วาดรูป หรือ ท่องเที่ยว ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้คุณลดความเครียดได้ดีมาก 

2.การรับประทานอาหาร ให้ครบ ให้ตรงเวลา

วัยทำงาน การรับประทานอาหารมักจะถูกละเลยด้วยคำว่า “กินอะไรก็ได้” หรือ อาหารฟาสฟู๊ด ที่มีโซเดียม ไขมัน จำนวนมาก ดังนั้นแล้ว การรับประทานอาหารจำเป็นมากที่แต่ละมื้อจะต้องทานให้ครบ 5 หมู่ ตรงเวลา และ ต้องครบทั้ง 3 มื้อปกติด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วร่างกายจะถูกปรับเปลี่ยนเวลาในการรับประทานไปมา ส่งผลให้น้ำย่อยทำงานผิดเวลา อาจจะเกิดเป็นโรคกระเพาะได้ ซึ่งหากวันไหนไม่มีเวลาสำหรับมื้อหลัก อาจเลือกทานอาหารว่างที่มีประโยชน์เพื่อรองท้องก่อนหาเวลารับประทานมื้อหลักก็ได้เช่นกัน

3.สรรหาเวลาออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกาย คือ อีกหนึ่งกิจกรรมที่ลดความเครียด อีกทั้งยังสามารถช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพราะว่าระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นเวลาออกกำลังกายควรมีเวลาให้วันละ 30 นาที เป็นอย่างน้อย แล้วชีวิตคุณจะเปลี่ยนไป 

4.งดการดื่มแอลกอฮอล์ และ สูบบุหรี่

สำหรับ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับคนวัยทำงานนั้นค่อนข้างปฏิเสธยาก เพราะในสังคมการทำงานมักจะมีการสังสรรค์หลังเลิกงานอยู่เสมอ ดังนั้นสิ่งที่คุณจะต้องเลี่ยงถึงแม้จะทำยากสักหน่อย แต่ก็ต้องทำเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดความเครียด หรือ โรคอื่น ๆ ที่แฝงมากับ เหล้า เบียร์ ได้นั่นเอง ส่วนบุหรี่ จะต้องงดเด็ดขาด เพราะนี่คืออีกหนึ่งสิ่งเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเอง และ ผู้อื่นอย่างร้ายแรง

5.ปรับตารางการใช้ชีวิต

วิธีนี้จะเป็นการป้องกันความเครียด ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เราเองจะต้องปรับเวลาชีวิตใหม่ นั่นก็คือ ทำงานให้สมดุล มีการพักผ่อนให้เพียงพอ มีจุดที่ต้องคลายเครียด นี่แหละคือวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ถ้าเริ่มต้นได้ ทำได้สม่ำเสมอ โรคเครียด ความเครียด ก็จะหายไป

6.ปรึกษาแพทย์ กรณี อาการรุนแรง

สำหรับใครที่ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เป็นโรคเครียดลงกระเพาะ มีอาการอุจจาระปนเลือด น้ำหนักลดเร็ว อาเจียนบ่อย จะต้องพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะคุณเองอาจจะเป็นโรคร้ายแรงได้ อีกเรื่องก็คือ ความเครียดที่ไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง ควรพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ 


วิธีป้องกัน โรค เครียดลงกระเพาะ

ความเครียด คือต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคเลยทีเดียว ซึ่งถ้าคุณปรับตัวได้ มีเวลาการทำงานที่เหมาะสม รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ครบ 5 หมู่ มีการออกกำลังเล็กน้อย มีกิจกรรมคลายเครียดเช่น การเล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง หรือ รายการตลก สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณค่อนข้างคลายความกังวลจากความเครียดได้ไม่ใช่น้อย ยิ่งไปกว่านั้นการใช้ชีวิตที่เคยเป็นมาจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง นี่แหละคือจุดที่จะทำให้ป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะได้

สำหรับคนวัยทำงาน ความจริงจังกับงานที่ทำย่อมส่งผลดี เช่น การได้รับเงินเดือน หรือ รายได้ที่มากขึ้น ได้รับผลงาน ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย แต่ทว่าการหักโหมงานจนเกิดความเครียดสะสมก็ส่งเสียต่อตัวเองได้มหาศาลเลยทีเดียว ดังนั้นแล้ว การป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะ จะต้อง “ไม่เครียด” เป็นจุดเริ่มต้น


ค่อนข้างที่จะลำบากมาก เพราะในช่วงที่ผ่านมาโรคระบาดอย่างโควิด-19 ทำเอาใครหลายคนจะต้องเครียดไปตาม ๆ กัน ทั้งปัญหาเรื่องการทำงาน สังคม เศรษฐกิจ การเงิน ที่ส่งผลให้ความเครียดมาเยือนได้ แต่สำหรับผู้ที่แยกแยะได้ดี ลดความเครียดได้ ก็ยังได้ใช้ชีวิตแบบมีความสุข มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงต่อสู้กันต่อไป ปัญหาเครียด ๆ ของคนวัยทำงาน ย่อมทำให้เกิด “ โรค เครียดลงกระเพาะ ” ดังนั้นใครที่กำลังเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้ ต้องรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ การใช้ชีวิตใหม่ เพราะว่าสิ่งที่จะตามมามากกว่าอาการปวดท้อง หรือ ท้องเสีย ก็คือโรคร้ายแรงอย่าง มะเร็งลำไส้  มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ โรคริดสีดวงทวาร ที่จะทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนไป ดังนั้นวิธีแก้ง่าย ๆ คือ ลดความเครียด รับประทานอาหารให้ครบ ออกกำลังกาย และ ใช้ชีวิตให้มีความสุข


เครียดลงกระเพาะ โรคฮิตของคนทำงาน.pdf (thatoomhsp.com)

ภาวะเครียดลงกระเพาะ แค่ได้ยินก็จะอาเจียนแล้ว เพราะปัจจุบันความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะวัยทำงาน ที่ทำงานหนักจนเครียด และหากปล่อยไว้นาน ๆ (ch9airport.com)

“เครียดลงกระเพาะ” โรคยอดฮิตคนวัยทำงาน – คนคิดมาก – โรงพยาบาลศิครินทร์ (sikarin.com)

เครียดลงกระเพาะ ภัยเงียบที่ควรระวัง – โรงพยาบาลวิชัยยุทธ (vichaiyut.com)

เครียดลงกระเพาะ มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีรักษา (sanook.com)

Similar Posts