ล้างไตทางหน้าท้อง

ภาวะไตวายหรือภาวะไตเรื้อรัง (CKD: Chronic Kidney Disease) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถกรองและขับของเสียออกจากร่างกายได้อย่างปกติ ทำให้ของเสียสะสมและตกค้างภายในร่างกาย ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติตามมาได้ การล้างไตเป็นหนึ่งในวิธีรักษาโรคไต ซึ่งมีการรักษาอยู่ 3 วิธี วิธีแรกจะเป็นการควบคุมอาหารและการรักษาด้วยยา วิธีที่สองคือการล้างไต ซึ่งแบ่งเป็นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ ล้างไตทางหน้าท้อง สำหรับวิธีที่สามเป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ดังนั้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อรักษาและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต


 ล้างไตกับฟอกไตต่างกันอย่างไร

การล้างไตเป็นการทำหน้าที่แทนไต ซึ่งจะสามารถทดแทนการทำงานของไตได้ 2 ประการเท่านั้น คือ การขับถ่ายของเสีย และการรักษาสมดุลของกรดด่าง เกลือแร่ และน้ำ ซึ่งการล้างไตหรือการฟอกไตนั้นเป็นวิธีการรักษาที่ทำหน้าที่แทนไตเหมือนกัน แต่ใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น การฟอกไตทางเส้นเลือดหรือการ ล้างไตทางหน้าท้อง เป็นต้น 

โดยวิธีรักษาไตนั้นสามารถทำได้ 3 วิธีดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ผู้ป่วยจะเลือกรักษาด้วยวิธีไหนนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ส่วนวิธีการล้างไตที่นิยมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

ล้างไตทางหน้าท้อง

  1. การล้างไตด้วยการใช้ไตเทียม โดยไตเทียมนั้นเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยรักษาผู้ที่มีภาวะไตวาย ซึ่งเป็นวิธีการฟอกไตที่จะนำของเสียขจัดสารพิษและสารอันตรายอื่นๆ ออกจากเลือด ด้วยการนำเลือดออกจากตัวผู้ป่วยผ่านทางเส้นเลือดดำและตัวกรอง เครื่องไตเทียมจะช่วยขจัดของเสียและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ออกจากเลือด หลังจากเลือดผ่านตัวกรองแล้วก็จะกลายเป็นเลือดดีก็จะนำเลือดนั้นกลับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทำการฟอกไตอย่างน้อยประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  2. การล้างไตผ่านทางหน้าท้อง เป็นวิธีล้างไตที่ผู้ป่วยจะได้รับการฝังสายท่อล้างไตแบบถาวรเข้าไปในช่องท้อง เพื่อเป็นช่องทางเข้า-ออกของน้ำยา แล้วทำการใส่น้ำยาล้างไตประมาณ 1-2 ลิตร เข้าไปค้างไว้ประมาณ 4-8 ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนน้ำและของเสีย ระหว่างเลือดกับน้ำยาล้างไตในช่องท้องผ่านทางผนังเยื่อบุช่องท้อง เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ก็จะต้องปล่อยน้ำยาล้างไตที่ค้างอยู่ภายในช่องท้องออกมา และทำการเติมน้ำยาล้างไตเข้าไปอีกครั้ง

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการฟอกไตและการล้างไตก็คือ การฟอกไตจะช่วยขจัดของเสียและสารพิษออกจากเลือด ในขณะที่การล้างไตจะแทนที่ของเหลวในร่างกายที่สูญเสียไป ซึ่งหมายความว่าการล้างไตสามารถช่วยผู้ป่วยไตวายให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาการเจ็บป่วยและการติดเชื้อ


 ผู้ป่วยแบบใดเหมาะกับการล้างไตเองที่บ้าน

ล้างไตทางหน้าท้อง

สำหรับการ ล้างไตทางหน้าท้อง ที่บ้านนั้นเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กับผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย (ESRD: End Stage Renal Disease) เพราะว่าเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและไม่สามารถขับของเสียได้ ส่งผลมีของเสียตกค้างอยู่ในร่างกาย ขาดความสมดุล ระบบการทำงานผิดปกติ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายจึงมักจะล้างไตทางช่องท้องที่บ้าน เพราะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือตลอดชีวิต หรือเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการไปรักษาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยสูงอายุที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจ เป็นต้น แต่วิธีการล้างไตเองที่บ้าน หรือวิธีการอื่น ๆ ก็ต้องให้แพทย์พิจารณาและแนะนำเสียก่อน


ประโยชน์ของการล้างไตทางหน้าท้องที่บ้าน

ล้างไตทางหน้าท้อง

ล้างไตทางหน้าท้อง มีข้อดีคือสามารถทำได้ด้วยตัวเองอยู่กับบ้าน โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ และสามารถชะลอการเสื่อมของไตที่ได้นานกว่าการฟอกเลือด ซึ่งวิธีนี้แพทย์จะเจาะสายยางฝังไว้ในช่องท้องอย่างถาวร ผู้ป่วยต้องใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง เพื่อล้างเอาของเสียออกและ ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4-5 ครั้งทุกวัน

โดยจะต้องเปลี่ยนน้ำยาล้างไตในหน้าท้องครั้งละ 1,500-2,000 มิลลิลิตร แต่ละครั้งแช่น้ำยาค้างไว้ในช่องท้องประมาณ 4-6 ชั่วโมง บางรายอาจต้องแช่ไว้ตลอดทั้งคืน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่าการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง นอกจากนี้ก็ยังมีการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่อง ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยล้างไตในเวลากลางคืนหรือในขณะที่ผู้ป่วยหลับ โดยเครื่องจะควบคุมการเปลี่ยนน้ำยาแบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และสามารถพักผ่อนในเวลากลางคืนได้อย่างสบายขึ้น

ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาการล้างไตทางหน้าท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ หรือ APD (Automated Peritoneal Dialysis) ซึ่งจะช่วยให้น้ำยาค้างอยู่ในช่องท้องนานที่สุด ลดเวลาในการปล่อยน้ำยาเข้าและออก ขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วย เพราะไม่ต้องแขวนถุงน้ำยาหรือรอน้ำยาเข้า-ออกอีกด้วย


วิธีล้างไตทางหน้าท้องด้วยตัวเองที่บ้าน

ล้างไตทางหน้าท้อง ด้วยตัวเองที่บ้าน มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน โดยวิธีการล้างไตผ่านทางหน้าท้องมีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : การต่อน้ำยาล้างไต โดยต่อถุงน้ำยาล้างไตเข้ากับสายท่อล้างไต และต้องล้างมือให้สะอาด ระวังไม่ให้มือสัมผัสกับข้อต่อระหว่างต่อถุงน้ำยาล้างไต ป้องกันการติดเชื้อ 

ขั้นตอนที่ 2 : การปล่อยน้ำยาล้างไต โดยทำการปล่อยน้ำยาล้างไตที่ค้างอยู่ภายในช่องท้องออกมา เพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ก่อนจะใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปใหม่อีกครั้ง

 

ขั้นตอนที่ 3 : การเติมน้ำยาล้างไต โดยจะเติมน้ำยาล้างไตใหม่เข้าไปในช่องท้อง หลังจากทำการปล่อยน้ำยาล้างไตเก่าออกหมดและล้างสายท่อล้างไตเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนที่ 4: การปลดสายต่อและถุงน้ำยาต่าง ๆ เมื่อเติมน้ำยาล้างไตใหม่เสร็จแล้ว จะทำการปลดสายต่อและถุงน้ำยาต่าง ๆ พร้อมกับเก็บสายท่อล้างไตไว้ที่เดิมและปิดด้วยฝาจุกปลอดเชื้อตั้งแต่ตอนปลดสาย


ผลข้างเคียงของการ ล้างไตทางหน้าท้อง

ล้างไตทางหน้าท้อง

ถึงแม้ว่าวิธีการ ล้างไตแบบนี้จะค่อนข้างสะดวก และสามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน แต่ว่าก็ยังมีผลข้างเคียงที่ควรรู้ไว้ เช่น

  • ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อบุช่องท้อง เพราะว่าบริเวณช่องท้องนั้นรับหน้าที่เป็นตัวกรองฟอกเลือดกับน้ำยาล้างไต ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นทั้งตัวกั้นและตัวกรอง ผู้ที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้องอาจมีปัญหาเกี่ยวกับเยื่อบุช่องท้องตามมาในภายหลังได้
  • อาการนอนไม่ค่อยหลับเป็นอีกผลข้างเคียงของผู้ป่วยที่ทำการล้างไต ส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตัวและทำให้เกิดอาการนอนไม่ค่อยหลับ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์และตรวจดูว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่
  • อาการปวดกระดูก เพราะว่าไตมีหน้าที่ในการควบคุมระดับฮอร์โมนต่าง ๆ จึงทำให้ผู้ป่วยมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ แต่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูง ส่งผลให้กระดูกผุกร่อนและเปราะบางได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดกระดูกได้ง่าย
  • ระบบขับถ่ายไม่ปกติ โดยเกิดจากการสะสมของเสียที่บริเวณทางเดินอาหารและลำไส้ จึงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียและท้องผูกอยู่เป็นประจำ หรืออาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหารร่วมด้วย
  • ผู้ป่วยมักจะมีน้ำตาลในเลือดสูง โดยเป็นผลข้างเคียงจากน้ำยาที่ใช้ในการล้างไต ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ง่ายมาก ดังนั้น หลังล้างไตเสร็จควรทำการเจาะวัดระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้การล้างไตมีประสิทธิภาพลดลงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น  

การล้างไตที่บ้านนั้นส่วนมากแล้วเป็นวิธีการล้างไตที่ใช้กับผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย และยังสามารถล้างไตผ่านหน้าท้องโดยทำที่บ้านด้วยตัวเองหากแพทย์อนุญาตแล้ว แต่การล้างไตที่บ้านอาจจะต้องมีคนคอยดูแลและต้องรักษาความสะอาดในระหว่างที่ทำ รวมถึงต้องสังเกตดูถึงอาการแทรกซ้อนที่ผิดปกติอื่น ๆ หลังล้างไตเสร็จด้วย


แต่ถ้าหากไม่สะดวกในการล้างไตด้วยตัวเองที่บ้านก็สามารถเดินทางไปล้างไตที่โรงพยาบาลได้ ที่สำคัญผู้ป่วยโรคไตต้องล้างไตอย่างสม่ำเสมอจึงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียในร่างกาย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด


 อ้างอิง

https://www.synphaet.co.th/dialysis-and-nursing-capd-patients/

https://www.bangkokhospitalhuahin.com/health-info/health-tips/hemodialysis

Similar Posts