การนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานหลายปี เพราะพืชเหล่านั้นมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยในการรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สมุนไพรก็ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัยกับทุกคน หากคุณกำลังสนใจด้านของการรักษาด้วยสมุนไพรคุณต้องหาข้อมูลดูก่อนว่าโรคที่คุณเป็นอยู่สามารถใช้พืชชนิดนั้นได้ไหมเพราะหากเลือกใช้ไม่ถูกกับโรคก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณได้เช่นกัน ดังนั้นมาดูกันเลยว่าสมุนไพรที่อยู่ตามรั้วบ้านของคุณจะสามารถรักษาโรคใดได้บ้าง

สมุนไพรรักษาโรค หากินง่าย มีประโยช์มากกว่าที่คิด

การใช้สมุนไพรรักษาโรค 

อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่ายาสมุนไพรคืออะไร ซึ่งมันก็คือผลผลิตจากธรรมชาติที่ได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งการนำมาใช้เป็นยาจะนำเอาส่วนต่าง ๆ ของพืชชนิดนั้นมาแปรรูปให้สามารถใช้ได้ตรงตามสรรพคุณ เช่น ส่วนของรากไม้ ดอกไม้ ใบไม้ เมล็ด หรือเปลือกไม้มาใช้เพื่อการรักษา โดยรูปแบบของสมุนไพรสามารถนำมาใช้ได้ 4 รูปแบบ ดังนี้

  1. สมุนไพรูปแบบของเหลว

การรักษาในรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการดื่ม เช่น นำพืชมาต้มกับน้ำ หั่นพืชเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วชงกับน้ำดื่ม คั้นน้ำสมุนไพรสดโดยตำให้ละเอียดและเติมน้ำเพื่อคั้นเอาตัวยา หรือการดองสมุนไพรโดยห่อด้วยผ้าขาวบางและดองในน้ำสุรา

  1. สมุนไพรรูปแบบของแข็ง

คือการนำสมุนไพรมาทำ ‘ยาลูกกลอน’ ซึ่งเป็นการนำพืชมาบดให้ละเอียดเป็นผงแล้วผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเพื่อใช้เป็นสารยึดเกาะแล้วปั้นเป็นลูกกลม ๆ ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่การนำสมุนไพรมาใช้ในรูปแบบนี้จะเหมาะสำหรับพืชที่มีรสชาติหรือกลิ่นไม่ค่อยดีอาจจะมีรสขมไม่เหมาะกับการดื่ม การใช้วิธีนี้จะทำให้รับประทานได้ง่ายขึ้น

  1. สมุนไพรรูปแบบกึ่งเหลวกึ่งแข็ง

การนำสมุนไพรมาใช้ในรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้รักษาภายนอก เช่น การทำยาพอก โดยอาจจะใช้เป็นพืชสด ๆ หรือนำมาตำให้เหลว

  1. สมุนไพรรูปแบบอื่น ๆ

การนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการรักษายังสามารถใช้ในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก เช่น ใช้วิธีรมควันเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรือรมควันสำหรับสตรีเพื่อให้มดลูกเข้าอู่หลังคลอด

10 สมุนไพรรักษาโรค

  1. มะยม

มะยม

สรรพคุณและวิธีใช้ 

  • ‘ใช้แก้อาการคัน หัด เหือด หรือช่วยขับน้ำเหลืองให้แห้ง’ โดยการนำใบ ผลมะยม หรือรากมาต้มดื่ม

สารเคมีในสมุนไพร

  •  ผลมะยม ประกอบไปด้วย tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C
  •  รากมะยม ประกอบไปด้วย beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid
  1. บัวบก

บัวบก

สรรพคุณและวิธีใช้

  • ‘แก้ช้ำใน’ โดยการนำต้น 1 กำมือมาคั้นน้ำดื่มซึ่งสามารถเติมน้ำตาลเล็กน้อยได้และดื่มติดต่อกัน 5-6 วัน
  • ‘แก้เจ็บคอ’ โดยการนำต้น 1 กำมือมาคั้นนำและเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนชา และจิบบ่อย ๆ ระหว่างวัน
  • ‘ใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง’ โดยนำต้นประมาณ 30-40 กรัมมาคั้นน้ำและดื่มติดต่อกัน 5-7 วัน สามารถเติมน้ำตาลได้เล็กน้อย
  • ‘ใช้ห้ามเลือดในแผลสด’ โดยการนำใบสดมาล้างให้สะอาดและตำเพื่อพอกบนแผลสด ซึ่งจะช่วยในการห้ามเลือดและทำให้แผลหายเร็วขึ้น

สารเคมีในสมุนไพร

ใบบัวบกประกอบไปด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.

  1. พริกไทย

พริกไทย

สรรพคุณและวิธีใช้ 

  • ‘ใช้ในการช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ขับลม หรือผู้ที่อาหารไม่ย่อย’ โดยนำเมล็ดพริกไทยประมาณ 15-20 เมล็ดมาบดเป็นผงและชงดื่ม
  • ‘แก้จุกเสียดแน่นท้องหรือท้องอืด ท้องเฟ้อ’ โดยนำใบพริกไทยมาบดและต้มดื่ม

สารเคมีในสมุนไพร

พริกไทยมีน้ำมันหอมระเหย 2-4 %, แอลคาลอยด์ piperine 5-9% (ตัวทำให้มีความเผ็ด) และ piperidine กับ pipercanine (ตัวทำให้มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด)

  1. โหระพา

โหระพา

สรรพคุณและวิธีใช้

  • ‘ใช้เป็นยาระบาย’ โดยการนำเมล็ดแห้ง 4-12 กรัมมาแช่น้ำเย็นจนพองและต้มดื่มสามารถผสมกับน้ำหวานหรือใส่น้ำแข็งเพิ่มได้
  • ‘ใช้เป็นยาแก้ไอหรือหลอดลมอักเสบ’ โดยการนำใบ 2-4 กรัมมาคั้นน้ำและผสมกับน้ำผึ้งเพื่อใช้จิบ
  • ‘ใช้รักษาอาการต่าง ๆ’ เช่น แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลม ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ปวดหัว ฯลฯ โดยการนำทั้งต้น 6-10 กรัมมาต้มน้ำดื่มหรือคั้นสดเพื่อดื่ม

สารเคมีในสมุนไพร

ใบโหระพาประกอบไปด้วย Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol, limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol และ estragol

  1. มะกรูด

มะกรูด

สรรพคุณและวิธีใช้

  • ‘ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ขับลม และแก้เสมหะ’ โดยการฝานที่ผิวมะกรูดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ และชงดื่มกับน้ำเดือดโดยเติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ สามารถดื่มได้ 1-2 ครั้งต่อวัน

สารเคมีในสมุนไพร

ผิวมะกรูดมีน้ำมันระเหยง่ายร้อยละ 4, เบตาไพนีน (beta-pinene) ประมาณร้อยละ 30 , ลิโมนีน (limonene) ประมาณร้อยละ 29, beta-phellandrene, citronellal, linalool, borneol, camphor, sabinene, germacrene D, aviprin, umbelliferone, bergamottin,  oxypeucedanin, psoralen, N-(iminoethyl)-L-ornithine (L-NIO) และ citric

  1. กะเพรา

กะเพรา

สรรพคุณและวิธีใช้ 

  • ‘ใช้เป็นยาขับลม’ โดยนำใบกะเพราแห้ง 1 กำมือมาบดเป็นผงและชงดื่ม ซึ่งคนโบราณมักจะใช้ใบกะเพราสดมาแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทานได้เพื่อช่วยขับลมและบำรุงธาตุ
  • ‘ใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อน’ โดยนำใบกะเพรา 4-5 ใบ มาตำและทาบริเวณที่เป็นกลากวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย

สารเคมีในสมุนไพร

ใบกะเพราประกอบไปด้วย ในใบพบ Apigenin, Ocimol, Linalool , Essential Oil, Chavibetal

  1. ตะไคร้

ตะไคร้

สรรพคุณและวิธีใช้

  • ‘ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด หรือปวดท้อง’ โดยการนำลำต้นของตะไคร้แก่ประมาณ 1 กำมือมาทุบให้พอแหลกและนำมาต้มดื่มหรือใช้ประกอบอาหาร
  • ‘ใช้แก้ขับปัสสาวะ’ โดยนำต้นแก่สด 1 กำมือ มาต้มดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้งก่อนอาหารหรือใช้หง่าแก่ที่อยู่ใต้ดินมาฝานเป็นแว่นบาง ๆ และนำไปคั่วให้พอเหลือง จากนั้นชงดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้งก่อนอาหารเช่นกัน

สารเคมีในสมุนไพร

  •  ใบตะไคร้ ประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 %  Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
  •  รากตะไคร้ประกอบไปด้วย อัลคาลอยด์ 0.3%
  1. มะขาม

มะขาม

สรรพคุณและวิธีใช้

  • ‘ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลม หรือพยาธิเส้นด้าย’ โดยนำเมล็ดมาคั่วและกะเทาะเปลือกออก จากนั้นนำเนื้อในเมล็ดมาแช่กับน้ำเกลือจนนุ่มและรับประทานได้เนื้อนั้นให้หมด โดยรับประทานได้ครั้งละ 20-30 เมล็ด
  • ‘ใช้เป็นยาระบาย’ โดยนำมะขามเปียกมาแกะเมล็ดออกแล้วจิ้มกินกับเกลือ จากนั้นดื่มน้ำตามให้มาก ๆ
  • ‘ใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะ’ โดยการนำเนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกมาจิ้มเกลือ

สารเคมีในสมุนไพร

  •  ใบมะขามประกอบไปด้วย Alcohols, phenolic esters and ethers. Sambubiose, Carboxylic acid, Oxalic acid
  •  ดอกมะขามประกอบไปด้วย a – Oxoglutaric acid, Glyoxalic acid , Oxaloacetic acid
  •  ผลมะขามประกอบไปด้วย Alcohols, Aldehydes; Citric acid Ketones, Vitamin B1, Essential Oil, Enzyme.
  •  เมล็ดมะขามประกอบไปด้วย Phosphatidylcholine, Proteins Glutelin, Albumin, Prolamine, Lectin
  1. ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

สรรพคุณและวิธีใช้

  • ‘ใช้เป็นยาแก้กระเพาะหรือลำไส้อักเสบ’ โดยการนำใบมาปลอกเปลือกออกให้เหลือแต่วุ้นและรับประทานวันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ‘ใช้รักษาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก’ โดยการนำวุ้นในใบมาล้างให้สะอาดและทาที่แผลหรือแปะที่แผลให้เปียกอยู่ตลอดเวลาใน 2 วันแรก แผลจะหายเร็วมากและบรรเทาอาหารปวดแสบปวดร้อนได้ดี แต่หากผู้ที่ทาแล้วผิวหนังแดงเป็นผื่นบาง ๆ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดเพราะอาจแพ้ได้ (จากผลการวิจัยมีผู้แพ้ไม่ถึง 1%)

สารเคมีในสมุนไพร

ใบว่านห่างจระเข้ ประกอบไปด้วย Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine.

  1. ชะพลู

ชะพลู

สรรพคุณและวิธีใช้ 

  • ‘ใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม หรือปวดบิด’ โดยนำราก 1 กำมือมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว และเคี่ยวให้เหลือประมาณ 1 ถ้วยแก้วครึ่ง จากนั้นรับประทานครั้งละครั้งถ้วยแก้ว
  • ‘ใช้รักษาโรคเบาหวาน’ โดยนำชะพลูสดทั้งต้นประมาณ 7 ต้นมาล้างน้ำให้สะอาดและใส่น้ำให้พอท่วมจากนั้นต้มให้เดือดสักพักแล้วดื่ม แต่การจะดื่มเพื่อรักษาเบาหวานจะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะทั้งก่อนและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะสูตรยาสมุนไพรชนิดนี้จะทำให้น้ำตาลลดเร็วมากและต้องเปลี่ยนต้นใหม่ทุกวันที่ต้มดื่ม

ข้อควรระวัง :
 ใบชะพลูสดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตสูง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือไม่ควรรับประทานเป็นประจำ  จะทำให้เวียนศีรษะและอาจทำให้เกิดนิ่วในไต หรือทางเดินปัสสาวะได้

สารเคมีในสมุนไพร

ใบชะลู ประกอบไปด้วย hydrocinnamic acid, B- sitosterol, pellitorine, guineensine, brachystamide B, sarmentine, brachyamide B, 1-piperettyl pyrrolidine, 3’,4’,5’-trimethoxycinnamoyl pyrrolidine, sarmentosine, asarinin และ sesamin

การใช้สมุนไพรรักษาโรค นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนให้ความสนใจมาก เนื่องจากบางทีการแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองปัญหาสุขภาพของบางคนได้ ผู้คนเลยหันมาสนใจใช้แพทย์แผนไทยที่มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณ แต่สมุนไพรก็อาจเกิดอันตรายได้เช่นกันหากผู้ที่ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพืชที่ต้องการใช้ เช่น พืชชนิดนั้นต้องใช้ส่วนไหน ราก ดอก หรือใบ หรือปริมาณที่ใช้ ระยะเวลาที่ใช้ควรมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นแล้วควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนำมาใช้หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำก่อนการใช้เพื่อรักษาโรค

อ้างอิง 

Similar Posts